การสลายกัมมันตรังสี

  • สมมติฐานการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี ของรัทเทอร์ฟอร์ดและซอดดี (Soddy)กล่าวว่า
    1. การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีเป็นการสลายตัวที่เกิดขึ้นเอง  โดยไม่ขึ้นกับสภาวะแวดล้อมของนิวเคลียส (เช่น การจัดตัวของอิเลคตรอน ความดัน อุณหภูมิ)
    2. การสลายตัวเป็นกระบวนการสุ่ม (Random Process) ในช่วงเวลาใดๆ ทุกๆ นิวเคลียสมีโอกาสที่จะสลายตัวเท่ากัน  ดังนั้น  ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ปริมาณนิวเคลียสที่สลายตัวจึงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณนิวเคลียสที่เหลืออยู่
  • อัตราการสลายของนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสี ในขณะหนึ่งจะแปรผันตรงกับจำนวนนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีนั้นที่มีอยู่ในขณะนั้น
สูตร      
โดย   λ เป็นค่าคงที่ของการแปรผัน เรียก ค่าคงตัวการสลาย (decay constant)
  •  อัตราการแผ่รังสีออกมาในขณะหนึ่ง คือ กัมมันตภาพ(activity)  มีสัญลักษณ์ A
A   =   λN
  • หน่วยวัดกัมมันตภาพ  นิยมวัดเป็นหน่วยคูรี่  โดย Bq (เบคเคอเรล)
  • การหาจำนวนนิวเคลียสเมื่อเทียบกับฟังก์ชันของเวลา 
กราฟแสดงการลดจำนวนนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสี ณ เวลาต่างๆ
  • ช่วงเวลาของการสลายที่จำนวนนิวเคลียสลดลงเหลือครึ่งหนึ่งของจำนวนเริ่มต้น เรียกว่า ครึ่งชีวิต (Half Life) มีสัญลักษณ์ 
สูตร   
  • การหาจำนวนนิวเคลียสโดยตรงนั้นทำได้ยาก  นิยมวัดจากกัมมันตภาพที่แผ่ออกมาดังสูตร
  • สภาพสมดุลของธาตุกัมมันตรังสี  หมายถึง ในธรรมชาติมีธาตุกัมมันตรังสีที่สลายตัวแล้วกลายเป็นนิวเคลียสของธาตุใหม่  แต่ธาตุใหม่ที่ได้นี้ยังไม่เสถียรภาพทีเดียว  จึงเกิดการสลายต่อไป จะพิจารณากรณีธาตุ A สลายตัวให้ธาตุ B สลายตัวให้ธาตุ C สูตรคือ
 ดังนั้น 
กราฟแสดงอัตราการสลายของธาตุ A จะเท่ากับอัตราการเกิดของธาตุ B
เมื่อเวลาเพิ่มขึ้นปริมาณนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีจะลดลงเรื่อยๆ  แต่ปริมาณนิวเคลียสจะไม่ลดลงเป็นศูนย์  ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเท่าใดก็ตาม  การพูดถึงเวลาที่ธาตุกัมมันตรังสีสลายตัวหมดจึงไม่มีความหมาย  ในทางทฤษฎีจึงพูดถึงเวลาที่ธาตุสลายตัวเหลือเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม

สมการการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี

จากการทดลองพบว่าอัตราการสลายตัวของนิวเคลียสจะเป็นปฏิภาคกับจำนวนนิวเคลียสที่มีอยู่ขณะนั้น
เขียนเป็นสมการได้ว่า
 
                                         หรือ               
โดยที่ λ แทนค่าคงที่ของการสลายตัว (decay constant)
ถ้าให้  เป็นจำนวนนิวเคลียสเริ่มต้นที่เวลา t = 0 และ  เป็นจำนวนนิวเคลียสที่เหลือ เมื่อเวลาผ่านไป t จะได้
การสลายตัวของสารกัมมันตรังสีแสดงได้ดังรูป
กราฟการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี

ครึ่งชีวิตของธาตุ

การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีชนิดหนึ่ง ๆ จะแสดงลักษณะที่แตกต่างกันด้วยเวลาของการสลายตัวที่เรียกว่า ครึ่งชีวิต (Half – Life) แทนด้วย ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ธาตุมันตรังสีหนึ่งจะสลายไปเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่มีอยู่เดิม ซึ่งจากกราฟ พบว่า
ในเวลาเริ่มต้น                        t = 0        จำนวนนิวไคล์ทั้งหมดเป็น          
เมื่อเวลาผ่านไปครึ่งชีวิต            t = T½      จำนวนนิวไคล์ที่เหลือเป็น        
และเมื่อเวลาผ่านไป                 t = 2T½    จำนวนนิวไคล์ที่เหลือเป็น         
ข้อควรจำ
ในทางปฏิบัติการวัดหาจำนวนนิวเคลียสโดยตรงกระทำได้ยาก และเนื่องจากจำนวนนิวเคลียสในสารหนึ่ง ๆ จะเป็นสัดส่วนกับปริมาณของสารนั้น ๆ ดังนั้นจึงพิจารณาเป็นค่ากัมมันตภาพหรืการวัดมวลแทน ดังนี้
กัมมันตภาพที่เวลาใด ๆ            =       
โดยที่ โดยที่  คือกัมมันตภาพที่เวลาเริ่มต้น (t=0)
มวลที่เวลาใดๆ                     =         
โดยที่  คือมวลสารตั้งต้นที่เวลาเริ่มต้น (t=0)
การหาจำนวนนิวเคลียสสามารถทำได้ดังนี้
ถ้า  M    แทนมวลอะตอมของธาตุ (กรัมต่อโมล)
m    แทนมวลของธาตุ (กรัม)
 แทนเลขอะโวกาโดร = 6.02×10²³ อะตอมต่อโมล
N    แทนจำนวนอะตอม (อะตอม)
จะได้ว่า             =        

เสถียรภาพของนิวเคลียส

แรงนิวเคลียร์
จากการศึกษานิวเคลียส  สรุปได้ว่าแรงที่ยึดเหนี่ยวนิวคลีออนเข้าด้วยกัน  คือ แรงนิวเคลียร์
แรงนิวเคลียร์  คือ แรงที่ใช้ยึดเหนี่ยวนิวคลีออนเข้าด้วยกัน  ซึ่งไม่ใช่ทั้งแรงระหว่างประจุและแรงดึงดูดระหว่างมวล  แต่เป็นแรงที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนอนุภาคเมซอนระหว่างนิวคลีอออนในนิวเคลียส
มวลและพลังงาน
เนื่องจากอะตอมมีขนาดเล็กมาก ในการวัดมวลใน 1 หน่วยอะตอม (atomic mass unit) แทนด้วย u โดยใช้มวลของคาร์บอน-12 เป็นค่ามาตรฐานในการเปรียบเทียบ หาค่ามวลอะตอมอื่น ๆ โดยที่ มวล 1 u มีค่าเท่ากับ  ของมวลคาร์บอน-12  1 อะตอม เขียนได้ว่า
1 u     =      มวลของคาร์บอน -12 1 อะตอม
                                                           =       กรัม
=       กิโลกรัม
จากทฤษฎีของไอสไตน์กล่าวว่า มวลสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ตามความสัมพันธ์
          =         
                          แทนค่าจะได้                                    =         
=          
โดยที่  (อิเล็กตรอนโวลต์)
             =            
                =                eV    =     931 MeV
                         ดังนั้นจะได้  1 u              =              931    MeV
นั่นคือ มวล 1 u  เทียบได้กับพลังงาน  931  MeV

เสถียรภาพของนิวเคลียส  คือ  เสถียรภาพของนิวคลียสขึ้นอยู่กับพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออน  นิวเคลียสใดมีพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนสูงจะมีเสถียรภาพสูง